ปัญหาโลกแตก ทิ้งงาน ส่งงานช้า ราคาแพง ไม่มาตรฐาน?
ทุกคนคงไม่อยากเจอปัญหาเหล่านี้ในการสร้างบ้าน เพราะเราทำงานหาเงินมาสร้างบ้านแล้วยังต้องมาเจอเรื่องราวที่ไม่คาดฝัน รังแต่จะทำให้เสียเวลา เสียสุขภาพจิต และเสียเงินที่เก็บอดออมมา
สำหรับบทความนี้มีความมุ่งหวังที่จะให้ทุกท่าน ที่จะสร้างบ้านได้บ้านที่ ถูกใจ ราคาเหมาะสม ได้มาตรฐาน ส่งงานตามสัญญา และไม่ปวดหัวกันทุกคน ทุกเรื่อง
วิธีแก้ปัญหา ต้องแก้ที่ต้นตอ ค่อยๆ ไปทีละประเด็นกันครับ
1. ราคาแบบก่อสร้างบ้าน
กล่าวโดยสรุป แบบบ้านต้องมีต้องพร้อมก่อสร้างจริงข้อผิดพลาดต้องน้อยที่สุด และคนที่จะทำแบบบ้านที่ดีได้ต้องใช้งบประมาณ ประสบการณ์ และ เวลาที่เหมาะสม
งบประมาณในการออกแบบเขียนแบบ ผมคำนวณเลขกลมๆค่าออกแบบขั้นต่ำให้เห็นภาพเร็วๆ
โดยตั้งงบไว้ประมาณ 3 ล้านบาทให้เหมือนๆกัน
แบบบ้านจ้างบริษัทออกแบบ
นาย A เลือกแบบบ้าน ราคาสตูดิโอออกแบบ คิดราคาที่ 5%-7% ของราคาบ้าน
ค่าออกแบบประมาณ 150,000 บาท
ได้ 4 รายการ แบบบ้าน, รายการคำนวณโครงสร้าง, ราคาก่อสร้างจากผู้ออกแบบ, หนังสือรับรอง คำแนะนำระหว่างก่อสร้าง ลูกค้าหาคัดเลือก ผรม. เองสมมติว่าได้ผรม. A
.
แบบบ้านพร้อมก่อสร้างสร้างครบวงจร
นาย B เลือกแบบบ้าน ราคาบริษัทรับสร้างบ้าน B คิดราคาที่ 3%-7%
ค่าออกแบบประมาณ 90,000 บาท
ในราคานี้ได้ 4 รายการ แบบก่อสร้าง, รายการคำนวณโครงสร้าง, ราคาก่อสร้างจากผู้ก่อสร้าง, หนังสือรับรอง คำแนะนำระหว่างก่อสร้างและการควบคุมงาน *แต่จะติดสัญญา เทิร์นคีย์ (การจ้างเหมาแบบเบ็ดเสร็จ)
.
นาย C เลือกแบบบ้าน ราคาบริษัทรับสร้างบ้าน C คิดราคาที่ 3%-7% ของราคาบ้าน
ค่าออกแบบประมาณ 90,000 บาท
ในราคานี้ได้ 4 รายการ แบบก่อสร้าง, รายการคำนวณโครงสร้าง, ราคาก่อสร้างจากผู้ก่อสร้าง, หนังสือรับรอง คำแนะนำระหว่างก่อสร้าง ?
.
แบบฟรีแลนซ์ หา ผรม. เอง
นาย D เลือกแบบบ้าน ราคาฟรีแลนซ์ D คิดราคาที่ 0.3%-7% ของราคาบ้าน
ค่าออกแบบ เริ่มต้นประมาณ 2x,xxx บาท
ในราคานี้ได้ 1 รายการ แบบหนึ่งเล่ม
.
นาย E เลือกแบบบ้าน ราคาฟรีแลนซ์ C คิดราคาที่ 0.3%-7% ของราคาบ้าน
ค่าออกแบบประมาณ เริ่มต้นประมาณ 8,xxx บาท
ในราคานี้ได้ 1 รายการ แบบหนึ่งเล่ม ที่ไม่ต้องมีรายละเอียดก็ได้
ก่อนจ้างออกแบบบ้าน ต้องรู้อะไรบ้าง ? ระวังอะไรบ้าง ?
ขอเล่าถึงปัญหาก่อนเพื่อจะได้มองเห็นภาพรวม ในงานก่อสร้างแบบก่อสร้างเป็นสิ่งสำคัญ หากแบบก่อสร้างผิด แสดงว่า “คนก่อสร้างก็จะทำถูกหรือผิดก็ได้ ซึ่งนี่แหละคือปัญหา” หากเกิดข้อถกเถียง แก้ไขหน้างาน มีการทุบรื้อ ก่อให้เกิดปากเสียงกันหากทั้งสองฝ่าย หรือมีคนที่สาม คนที่สี่ เข้ามาเกี่ยวข้อง เห็นไหมครับว่ายังไม่ลงรายละเอียดก็เริ่มมีอาการปวดหัวแล้วครับ เราไปดูวิธีป้องกันกันดีกว่า
ข้อควรระวังที่ทุกคนก็รู้
1. แบบที่มีราคาถูกในราคาหลักพันบาท
2. แบบที่สั่งซื้อมาสำเร็จโดยไม่ได้ดูรายละเอียดในพื้นที่ก่อสร้าง
4. แบบที่ไม่มี รายละเอียดแบบขยายชัดเจนในงานสถาปัตยกรรม งานโครงสร้าง งานระบบไฟฟ้า งานระบบประปาและสุขาภิบาล
3. แบบที่ไม่มี สถาปนิกเซ็นรับรอง(การเว็นรับรองนั่นหมายถึงผู้เว็นจะต้องรับผิดชอบกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อไป)
4. แบบที่ไม่มี วิศวกรเซ็นรับรอง (การเซ็นรับรองนั่นหมายถึงผู้รับรองจะต้องรับผิดชอบกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อไป
5. แบบที่มีจำนวนหน้า น้อยกว่า 30 หน้า
ข้อควรระวังที่บางคนรู้
1. แบบที่เขียนไม่ผิด แต่ขาดความรู้ ความเข้าใจ ซึ่งบางครั้งการตรวจสอบค่อนข้างกินเวลา
2. แบบที่ไม่ผ่านขั้นตอน Combined drawing (การซ้อนทับของแบบแต่ละประเภทเพื่อหาความขัดแย้ง)
3. แบบที่ไม่สามารถทำงานได้ เช่น เหล็กเสริมถี่คอนกรีตไหลไม่ได้ ซึ่งจะเกิดปัญหาอย่างหนัก,ไม่มีคานรับแผงก่อตกแต่ง ของเสา ผนัง ภายนอก ทำให้ผนังร้างและแก้ไขไม่หาย
4. แบบที่ซับซับซ้อนเกินความจำเป็น ทำให้ต้องใช้ขั้นตอนการทำงานหลายขั้นตอน เสี่ยงกับการหมกเม็ด
5. แบบที่ไม่มีตารางโหลดไฟฟ้า นั่นหมายถึงว่า คนทำจะทำหรือเสนอราคาอย่างไรก็ได้ต้องใช้สุภาษิตไทย “ตาดีได้ ตาร้ายเสีย”
ทุกแบบบ้านสามารถทำได้ทั้งหมด ไม่มีผิดถูก อยู่ที่ทั้งสองฝ่ายตกลงกันและรับความเสี่ยงได้ระดับไหน
หากรายละเอียดแบบก่อสร้างนั้นมีข้อผิดพลาดมากเท่าไรก็จะทำให้ ผรม. นั้นขาดทุนมากเท่านั้นไม่ว่าจะเป็นเรื่องขาดทุนเรื่องเงิน และเวลาในการแก้ปัญหาที่เกิดในในระหว่างก่อสร้างหากประเมิณเป็นลงเงินความสูญเสียแล้วหลักแสนบาทแล้ว ทำให้สุดท้ายแล้ว ผรม. เลยตัดสินใจทิ้งงานเพื่อแก้ปัญหาปลายเหตุนั่นเอง
ในโลกความเป็นจริงที่โหดร้ายน้อยนักที่ ผรม. จะยอมขาดทุนหลักแสน หลักล้าน เพื่อทำบ้านให้ลูกค้าจนจบ เพราะการสร้างกำไรว่าทำยากแล้ว ยังต้องขาดทุนอีก
มาถึงตรงนี้ทุกคนคงไม่อยากโดนทิ้งงาน และคงไม่อยากให้ ผรม. ขาดทุนด้วยเช่นกัน อยากให้ทุกส่วนทั้งแต่ต้นทางยันปลายทางมีความสุขในการสร้างบ้านของเราเหมือนๆกัน